คู่มือการสอบสวนสาเหตุการตายนอกสถานพยาบาล ฉบับปรับปรุงปี 2560


          สิ่งหนึ่งที่กำลังเป็นปัญหากับการทำงานของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ที่มีผลกระทบโดยตรงต่อประชาชนในพื้นที่ นั่นคือ “การแจ้งตาย” ซึ่งแต่เดิมหากพบผู้เสียชีวิตในครอบครัว ให้สมาชิกในครอบครัว แจ้งการตายต่อนายทะเบียน (ผู้ใหญ่บ้าน) ภายใน 24 ชั่วโมง เพื่อนำไปสู่การออกใบมรณะบัตรในที่สุด
    
        ปัจจุบัน “การแจ้งตาย” กรณีตายด้วยสาเหตุปกติตามธรรมชาติที่บ้าน (นอกสถานพยาบาล) ไม่ใช่การฆาตกรรม ฆ่าตัวตาย ถูกสัตว์กัด ทำร้ายร่างกาย อุบัติเหตุ หรือภาวะของร่างกายล้มเหลว (หัวใจวาย,ไตวาย ฯลฯ) โดยให้เจ้าบ้านหรือสมาชิกในครอบครัวผู้เสียชีวิต มาแจ้งการตาย ณ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) หลังจากไปแจ้งการตายกับผู้ใหญ่บ้าน ทั้งนี้ เป็นอำนาจของผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (ผอ.รพ.สต) เป็นผู้ลงนามในใบรับรองสาเหตุการตาย (ท.ร.4ตอนหน้า) พร้อมประทับตราส่วนราชการ ร่วมกับ พยาบาลวิชาชีพเวชปฏิบัติ เป็นผู้ร่วมวินิจฉัยสาเหตุการตายโดยอ้างอิงตามหลัก International Classification of Diseases (ICD10) ด้วยอักษร ENGLISH CAPITAL LETTER ในแบบสัมภาษณ์เพื่อสอบสวนสาเหตุการตาย (มี 2 ฟอร์ม แยกตามอายุ ประกอบด้วย 6 ตอน 8 หน้า)
      
         ดังนั้น เพื่อป้องกันความสับสนและเตือนตัวเอง รวมถึงอาจเกิดประโยชน์ต่อผู้อ่าน จึงนำเสนอขั้นตอนการดำเนินงานสาเหตุการตายนอกสถานพยาบาล พอสังเขป ดังนี้
 
        ขั้นตอนการดำเนินงานสาเหตุการตายนอกสถานพยาบาล
  1. เมื่อมีคนตายในบ้าน ญาติแจ้งการตายกับนายทะเบียนผู้รับแจ้ง ได้แก่ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน เจ้าหน้าที่เทศบาลอำเภอ ภายใน 24 ชม. นายทะเบียนผู้รับแจ้งการตายจะออกใบรับแจ้งการตาย (ท.ร. 4 ตอนหน้า)
  2. ญาติคนตายนำใบรับแจ้งการตาย (ท.ร. 4 ตอนหน้า) ไปพบเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่สถานบริการใกล้บ้าน 
  3. เจ้าหน้าที่สาธารณสุข (รพ./สสอ./สอ.) สัมภาษณ์ตามแบบสอบสวนสาเหตุการตาย และ ออกหนังสือสันนิฐานสาเหตุการตาย
  4. เจ้าหน้าที่สาธารณสุข (รพ./สสอ./สอ.) เขียนสาเหตุการตายลงในใบ ท.ร. 4 ตอนหน้า ( ด้านหลัง ) 
  5. ญาตินำหนังสือ ท.ร. 4 ตอนหน้า ไปสำนักทะเบียนอำเภอ / ท้องถิ่น เพื่อขอรับใบมรณะบัตร
  6. เจ้าหน้าที่สาธารณสุข (รพ./สสอ./สอ.) ส่งแบบสัมภาษณ์สอบสวนสาเหตุการตาย ให้สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ (ในรูปแบบของไฟล์เอกสาร) ทาง E-Mail ทุกครั้งที่มีการ สัมภาษณ์สาเหตุการตายนอกสถานพยาบาล
 
*หมายเหตุ : หนังสือสันนิฐานสาเหตุการตายให้เก็บไว้ที่ รพ./สสอ./สอ. ที่รับผิดชอบ
1. แบบสัมภาษณ์เพื่อสอบสวนสาเหตุการตาย ต่ำกว่า 1 ปี
2. แบบสัมภาษณ์เพื่อสอบสวนสาเหตุการตาย มากกว่า 1 ปี
3. หนังสือสันนิษฐานสาเหตุการตาย
 
Download คู่มือที่ด้านล่าง

Update Delete

แชร์บทความนี้

Comments